Open-source Unicorn, Odoo
การที่จะได้เป็น Unicorn นั้น มูลค่าของบริษัทต้องมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ USD ขึ้นไป
และใช่ครับ Odoo ได้รับเงินลงทุนจาก Summit Partner มาเพิ่ม โดยได้เป็น Series C คิดเป็นมูลค่าประมาณ 214 ล้านดอลลาร์ USD หรือคิดเป็นเงินไทยก็ราวๆ 7,000 ล้านบาท
การได้รับเงินลงทุนมหาศาลขนาดนี้ ตัวนักลงทุนเค้ามองเห็นอะไรใน Odoo เราลองมาทำความเข้าใจไปด้วยกันดูครับ
1. ลูกค้าที่มาใช้ระบบไม่ต้องลงทุนเยอะ
ด้วยความที่เป็น Open source เลยทำให้ใครๆสามารถนำระบบนี้ไปใช้ได้ โดยมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำ รวมไปถึงตัวระบบที่ออกแบบมาได้ตอบโจทย์การทำงานเบื้องต้นของธุรกิจส่วนใหญ่อยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ระบบ Odoo จะเป็นที่จับตามอง จากทั้งผู้ใช้งาน, นักพัฒนา รวมไปถึง นักลงทุนด้วย
2. จำนวน User ที่ใช้งาน และ จำนวน Partner ที่มีอยู่ทั่วโลก
ปัจจุบัน Odoo มีผู้ใช้งานทั่วโลก 7 ล้านคน รวมถึงในประเทศไทยเอง ตั้งแต่บริษัทเล็กไปจนถึงบริษัทใหญ่ก็พากันมาใช้ระบบ Odoo กันมากขึ้น เมื่อเทียบกับ ERP ตัวใหญ่ๆ อย่างเช่น Oracle NetSuite ที่มีองค์กรที่ใช้งานอยู่ประมาณ 15,000 แห่งเท่านั้น
ด้วยจำนวนผู้ใช้งาน และพาร์ทเนอร์อีกกว่า 1,600 บริษัท จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในการทำการตลาด, โฆษณา ลดลงไปได้อีกด้วย โดยการให้ user ช่วยบอกปากต่อปาก และให้ partner ช่วยจัด event Odoo ในประเทศต่างๆ ซึ่งในไทยก็มีจัด event ทุกปีเช่นเดียวกัน
3. Open source ทำให้การพัฒนาเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยความที่ Odoo เป็น Open source ต่างกับระบบ ERP ดังๆ อย่าง SAP, Microsoft Dynamics หรือ Oracle Netsuite เอง ทำให้มีกลุ่มนักพัฒนาที่จะคอยมาช่วยพัฒนา คอยช่วยให้ feedback ต่างๆ โดยในปัจจุบันนี้มี Application ที่เขียนโดยกลุ่มนักพัฒนากว่า 25,000 แอพ ที่จะช่วยให้ Odoo มาตอบโจทย์วิธีการทำงานขององค์กรเราได้มากขึ้น
และนี่คือมุมมองที่นักลงทุนเห็นในศักยภาพของ Odoo ที่จะสามารถโตได้อีกมากจากการที่ Odoo ตั้งเป้าที่จะเป็น ระบบ ERP ที่ครอบคลุมธุรกิจทุกรูปแบบ ใช้งานได้ง่าย และราคาไม่สูงมาก