Asset Tokenization: Unlocking the Economy of Everything through Blockchain
ในอนาคตโลกจะเข้าสู่ยุคแห่งการกระจายอำนาจ โดยมีเทคโนโลยีสำคัญที่เกี่ยวข้องอย่างบล็อกเชน (ฺBlockchain) ซึ่งมีบทบาทสำคัญและนับว่าเป็นกระดูกสันหลังของยุคดังกล่าว
11 May, 2022 by
Asset Tokenization: Unlocking the Economy of Everything through Blockchain
Possakorn kittipipatthanapong (Ty)
| No comments yet

 

 Blockchain (บล็อกเชน) เทคโนโลยีแห่งโลกยุคดิจิทัล

จากเหตุการณ์ที่สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrencies) รวมถึงบิตคอยน์ (Bitcoin) มีบทบาทที่มากขึ้นในแวดวงธุรกิจ ทำให้ Blockchain ต้องเผชิญกับการวิพากษ์วิจารณ์และการปฏิเสธอย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน Blockchain กลับกลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจในเชิงบวก รวมถึงเป็นการปฏิวัติที่พลิกโฉมอุตสาหกรรม ยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า และปฏิวัติความไว้วางใจในแวดวงธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะภาคเศรษฐกิจที่เกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm shift**)** อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดโอกาสและความท้าทายใหม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการปลดล็อคสินทรัพย์กว่าล้านล้านดอลลาร์ที่ไม่มีสภาพคล่อง ตั้งแต่สินค้าที่จับต้องได้ไปจนถึงสินทรัพย์ที่ไม่สามารถเปลี่ยนคืนได้ จนเกิดกระแสรายได้ใหม่และเปลี่ยนแปลงวิธีการลงทุนและระดมทุน โดยส่วนใหญ่แล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ผ่านกระบวนการสร้างตัวแทนของทรัพย์สินต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลหรือที่เราเรียกกันว่า Tokenization ที่นับว่าเป็นหนึ่งในแอปพลิเคชันที่สำคัญที่สุดของ blockchain ณ ปัจจุบัน

Tokenization คืออะไร?

แนวคิดเรื่อง Tokenization ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในความเป็นจริงระบบดังกล่าว มีการใช้งานมาเป็นเวลานาน อาทิเช่น ธนบัตร ดิจิตอล และเหรียญคาสิโน หรือหากอธิบายง่ายๆ ตามคำจำกัดความของหอการค้าดิจิทัล (Chamber of Digital Commerce) Digital tokens คือ “หน่วยอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถโอนได้ โดยสร้างขึ้นภายในเครือข่ายแบบกระจายศูนย์หรือที่เราเรียกกันว่า Blockchain Technology” นั้นเอง ซึ่ง Digital Tokens เหล่านี้ อาจเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ใดๆ ในเศรษฐกิจปัจจุบันก็ได้ กล่าวโดยสรุปคือ การสร้าง Tokens หรือ “Tokenization” หมายถึงการแปลงสินทรัพย์ในโลกแห่งความเป็นจริง รวมถึงสินทรัพย์ในโลกดิจิทัล ให้อยู่ในรูปแบบของ Digital Tokens ที่สามารถจัดเก็บ ซื้อขาย และโอนผ่าน Blockchain หรือ Distributed Ledger Technology ได้

แล้วทุกท่านท่านสงสัยมั้ยว่า สินทรัพย์ประเภทใดบ้างที่สามารถทำให้อยู่ในรูปแบบของ Tokenization ได้?

Tokenization สามารถนำไปใช้หรือปรับเปลี่ยนได้กับสินทรัพย์เกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นของที่สามารถจับต้องได้ หรือแม้แต่ของเสมือนก็สามารถที่จะเปลี่ยนเป็น Digital tokens ได้ โดยมีตัวอย่างตั้งแต่ศิลปะไปจนถึงอสังหาริมทรัพย์ หลักทรัพย์ หรือแม้กระทั่งเอกลักษณ์เฉพาะสำหรับของบางอย่าง

โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ

1. สิ่งของที่จับต้องได้ (Physical Assets) 

และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น ของสะสม โลหะมีค่า เครื่องอุปโภคบริโภค และเครื่องมือทางการเงินต่างๆ

2. ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า (Medium of Exchange)

เช่น สกุลเงินต่างๆ สินทรัพย์ที่มีมูลค่าในการแลกเปลี่ยน เช่น ทองคำ รวมถึงแต้ม (Point) หรือคะแนนเพื่อแลกสิทธิประโยชน์ต่างๆ

3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)

เช่น ใบอนุญาต, สิทธิบัตร, ลิขสิทธิ์, สัมปทาน และนวัตกรรมต่างๆ เป็นต้น

“The ability to program, fractionalize, compose, or trade tokens while preserving ownership will create possibilities for commerce that were never possible before.”

 Gartner - 2022

ประโยชน์ที่สำคัญ (Key Benefits)

1. เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Operational Efficiency)

เมื่อมีการใช้โครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน รวมถึงไม่มีองค์กรภายนอกเข้ามามีบทบาทในการบริหารจัดการ การแลกเปลี่ยน โอนถ่ายธุรกรรมต่างๆ ทำให้ต้นทุนในการทำธุรกรรมจะลดลงเป็นอย่างมาก ขณะที่ผลลัพธ์แสดงถึงประสิทธิภาพที่การเพิ่มขึ้น ตัวอย่างการทำธุรการง่ายๆ เช่น การโอนหรือการรับสามารถชำระได้ภายในไม่กี่วินาที ซึ่งต่างจากเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน นอกจากนี้การดำเนินการสามารถทำได้แบบไร้พรมแดน และปราศจากข้อกำหนดที่กีดขวางทางกายภาพ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากตัวกลางจากภายนอกถูกลดบทบาทลง ทำให้ความน่าเชื่อถือ (Trust) หรือความไว้วางใจกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อผู้ใช้บริการต่างๆ

2. การถือครองกรรมสิทธิ์แบบสัดส่วน (Fractional Ownership)

ข้อดีอีกประการของการใช้ Blockchain คือ ความสามารถในการแบ่งสินทรัพย์ต่างๆ ออกเป็นส่วนย่อยๆ เสมือนหุุ้นแบบไม่จำกัดจำนวน ซึ่งทำให้เจ้าของสามารถดำเนินการแบ่งสินทรัพย์ออกเป็นส่วนๆ ได้ จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดประโยชน์สำคัญในการลดเกณฑ์สำหรับการลงทุนขั้นต่ำลง เพิ่มโอกาสให้นักลงทุนรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดการเงิน รวมถึงเพิ่มสภาพคล่องมาสู่ตลาดในหลายๆ ธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

3. ความโปร่งใส (Transparency)

สินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) ที่ส่งต่อมาผ่าน Blockchain นั้นมีคุณสมบัติที่โปร่งใส เนื่องจากธุรกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโครงสร้างพื้นฐาน Blockchain ทำให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยสาธารณะ สามารถตรวจสอบบันทึกข้อมูลที่เกิดย้อนหลังได้ รวมถึงระบบของ Blockchain ไม่สามารถเปลี่ยนรูปแบบหรือแก้ไขธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ และสุดท้าย Blockchain ยังเป็น Open-source Software ดังนั้น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกคนจึงสามารถดู Source-code หรือวิธีการนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้

4.. ระบบการทำงานอัตโนมัติ (Automation)

นอกจากนั้น ในระบบ ของ Blockchain ยังมีการปรับใช้ Smart Contracts แทนการใช้งาน Workflow แบบดั้งเดิมในกระบวนการซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) เพื่อทำให้การประสานงาน รวมถึงการดำเนินการทางการเงินและธุรกิจต่างๆ เป็นไปได้อย่างราบรื่น รวดเร็ว และเป็นไปอย่างอัตโนมัติ

การปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Disruption)

ด้วยประโยชน์ในด้านๆ ของ Blockchain ทำให้มีกรณีตัวอย่างการใช้งาน (Use Cases) ในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate), การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management), การเงิน (Finance) รวมถึงอุตสาหกรรมเกม (Gaming) ตามตัวอย่างดังต่อไปนี้

อสังหาริมทรัพย์ (Real Estate)

ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การลงทุนในภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีอุปสรรคสำคัญ เนื่องจากต้นทุนตั้งต้นที่สูงอย่างมีนัยยะ เมื่อเปรียบเทียบกับสินทรัพย์การลงทุนประเภทอื่นๆ ทำให้การดึงนักลงทุนรายย่อยเข้ามาในระบบ เป็นไปได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม Tokenization สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของการถือครองกรรมสิทธิ์แบบสัดส่วน (Fractional Ownership) ทำให้นักลงทุนรายใหม่หรือนักลงทุนรายย่อย มีโอกาสในการจะเข้าถึงการลงทุนได้มากขึ้น รวมถึงลดความเสี่ยงในการลงทุนในภาพกว้าง

การเงิน (Finance)

การกระจายอำนาจทางการเงิน (Decentralized Finance) หรือที่เราเรียกกันว่า DeFi  เป็นการพูดถึงแนวคิดของการสร้างระบบการเงินไร้ตัวกลางที่สามารถทำในสิ่งที่ระบบการเงินปัจจุบันหรือธนาคารทำอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสินทรัพย์ กู้ยืม ค้ำประกัน โอนสินทรัพย์ โดยเราจะเห็น Use cases ต่างๆ ที่เกิดขึ้ นตัวอย่างเช่น การฝากเพื่อรับผลตอบแทน (Yield Farming) เพิ่มสภาพคล่อง (Liquidity) ให้แก่ระบบจาก Protocol ต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มที่จะให้ผลตอบแทนการลงทุนต่อปี (APY) ที่สูงกว่าการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมและเป็นแรงจูงใจให้กับการลงทุนให้กับนักลงทุนที่กำลังเผจิญกับปัญหาอัตราเงินเฟ้อ (Inflation) ในปัจจุบัน

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)

ปัญหาเกี่ยวกับ Supply Chains เป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ทำให้หลายๆ บริษัทเสียค่าใช้จ่ายหลายล้านต่อปี ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมยา หากเวชภัณฑ์หรือผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ฉ้อฉลแทรกซึมเข้าไปใน Supply Chains ทำให้ธุรกิจเสียหายนับล้าน และอันตรายต่อถึงแก่ชีวิตของลูกค้า อย่างไรก็ตามเงินดิจิทัล อย่างเช่น Non-Fungible Tokens (NFTs) ที่ไม่สามารถเกิดการเปลี่ยนได้ มีศักยภาพที่ทำให้ระบบ Supply chains Management มีความโปร่งใส (Transparency) ตั้งแต่ end-to-end ตรวจสอบความถูกต้องของระบบได้อยู่ตลอด ทำให้การบริหารระบบ (Supply chains Management) มีความปลอดภัยมากขึ้น

เกม (Gaming)

สกุลเงินดิจิทัล (Digital Tokens) เป็นส่วนหนึ่งที่เห็นในอุตหสาหกรรมเกมมานานกว่าหนึ่งทศวรรษ โดยตัวอย่างที่เห็นได้อย่างตรงมาที่สุดคือ กรณีตัวอย่างการใช้ Cryptocurrency Tokens แทนสกุลเงินสำหรับการแลกเปลี่ยนในเกม นอกจากนั้น ยังเปลี่ยนไอเท็มหรือสินทรัพย์ภายในเกมให้อยู่ในรูปแบบของสินทรัพย์ดิจิตอล (Digital Assets) ได้ โดย Digital Tokens เพิ่มการเข้าถึงให้กับผู้เล่นทั่วโลก นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เล่นกับผู้เล่นเองในลักษณะ (Peer-to-Peer) ได้

Utility Tokens and Security Tokens

โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) จริงๆ แล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทกว้างๆ ได้แก่  Utility Tokens และ Security Tokens ซึ่งจากการทดสอบของ Howey Test ได้ระบุถึงว่า โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ถือว่าเป็นส่วนที่แยกออกมาจากเหรียญ (Cryptocurrencies ) ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้ในการแลกเปลี่ยนหรือชำระเงินและมีเครือข่าย Blockchain ของตัวเอง ในขณะที่โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ถือว่าเป็นสินทรัพย์รองในระบบ Blockchain

ณ ปัจจุบัน โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ทั้ง Utility Tokens และ Security Tokens ส่วนมากถูกใช้ในการระดมทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจในรูปแบบต่างๆ ให้กับบริษัท Startups ทั่วโลก นับเป็นเม็ดเงินกว่าหลายพันล้านดอลลาร์

โดยโทเคนดังกล่าวมีรายละเอียดที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

Utility Tokens

โดยพื้นฐานโทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ในประเภทของ Utility Tokens จะให้สิทธิประโยชน์กับผู้ที่ถือครองเฉพาะบน Platform นั้นๆ และ ถือได้ว่าเป็นกุญแจประเภทหนึ่งในเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการพิเศษ ตัวอย่างเช่น

  • FIL (FileCoin) - อนุญาตให้ผู้ถือสกุลเงินดิจิทัล Tokens เข้าถึงที่เก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจ

  • BAT (Basic Attention Token) - สกุลเงินดิจิทัล Tokens ใน Brave Browser ที่นักการตลาดดิจิทัลใช้เพื่อชำระค่าโฆษณา

  • GNT (Golem) - อณุญาตให้ผู้ถือเช่าทรัพยากรคอมพิวเตอร์สำรองจากผู้เข้าร่วมเครือข่ายอื่นๆ หรือรับเงินสำหรับการยืมทรัพยากรของตนเอง

Security Tokens

ทางกลับกัน โทเคนดิจิทัล (Digital Tokens) ในประเภทของ Security Tokens เป็นสินทรัพย์ทางการเงิน หรือเป็นสินทรัพย์เพื่อใช้การในลงทุนที่สามารถซื้อขายได้ เช่น หุ้น พันธบัตร หุ้นกู้ ธนบัตร รวมถึงสินทรัพย์ที่มีการจ่ายปันผล กำไร หรือดอกเบี้ย โดยส่วนมาก Security Token จะอยู่ภายใต้ข้อบังคับซึ่งต่างจาก Utility Tokens

โดยสรุปคือ สกุลเงินดิจิทัล Utility Tokens ให้สัญญากับผลิตภัณฑ์หรือบริการ ในขณะที่  Security Tokens จะให้ผลทางกำไร

What’s next?

ภายในทศวรรษหน้า เราคาดหวังที่จะได้เห็นวิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำธุรกรรม การลงทุน การระดมทุนต่างๆ รวมถึงกรณีการใช้งานที่มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ระบบดังกล่าวเติบโตและเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างยั่งยืน จำนวนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดในระบบของ Tokenization ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยื่งในการขับเคลื่อนระบบนี้ต่อไป โดยมีปัจจัยสำคัญอยู่ทั้งหมด 2 ส่วนคือ

(1) ความน่าเชื่อถือ (Trust): นักลงทุนหรือผู้เกี่ยวข้องสามารถมั่นใจได้ว่า สินทรัพย์ในรูปแบบดิจิตอล (Tokenized) สามารถแสดงถึงมูลค่าของทรัพย์สินได้จริง

(2) ระเบียบข้อบังคับ (Regulation): มีระเบียบข้อบังคับที่มีความชัดเจน รวมถึงการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อปกป้องทรัพย์สิน รวมถึงความปลอดภัยในเงินทุนของผู้ลงทุนต่างๆ

Asset Tokenization: Unlocking the Economy of Everything through Blockchain
Possakorn kittipipatthanapong (Ty) 11 May, 2022
Share this post
Tags
Archive
Sign in to leave a comment