อย่าทำ Data Visualization แบบนี้ถ้าไม่อยากให้ใครเข้าใจผิด
การนำเสนอข้อมูลในปัจจุบัน มักจะมีเรื่องของ Data Visualization เข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น เราจึงควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่จะนำเสนอ
15 August, 2022 by
อย่าทำ Data Visualization แบบนี้ถ้าไม่อยากให้ใครเข้าใจผิด
Sakulrat Khunsoongnoen (Noey)
| No comments yet

 

Data Visualization มีรูปแบบการนำเสนอค่อนข้างหลากหลาย

ปัจจุบัน Data เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจมากขึ้น หลายๆคนคงจะเคยเห็นการนำเสนอ Data มาในหลากหลายรูปแบบ ซึ่งรูปแบบในการนำเสนอ Data ประเภทต่างๆนั้นก็ขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ขนาดข้อมูล ประเภทข้อมูล เช่น ตัวอักษร (String) ตัวเลข (Numeric) รวมไปถึงวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ เช่น เพื่อเปรียบเทียบ (Comparison) เพื่อดูการกระจายตัว (Distribution) เพื่อดูสัดส่วน (Composition) หรือเพื่อหาความสัมพันธ์ (Relationship) นั่นเอง

ดังนั้น เราจึงควรเลือกกราฟให้เหมาะสมกับข้อมูลที่เรามี เพื่อช่วยให้ผู้รับสาร (Audience) สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่เราต้องการนำเสนอได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีการในการแปลงข้อมูลให้เป็นกราฟต่าง ๆ เหล่านี้หลายๆคนคงจะคุ้นหูกันเป็นอย่างดีในชื่อของ Data Visualization นั่นเอง

Source: https://education.microsoft.com/nb-no/course/0a60eeb6/1
โดยเราจะมีข้อแนะนำ สำหรับกราฟที่มักจะถูกใช้บ่อยๆ 2 รูปแบบได้แก่ Pie Chart และ Bar Chart ดังนี้

แผนภูมิวงกลม (Pie Chart)

เชื่อว่าหลายๆคนคงจะเคยใช้ Pie Chart กันอยู่แล้วเพราะถือว่าเป็นกราฟยอดฮิตเลยทีเดียว ซึ่งมักใช้เพื่อแสดงสัดส่วนของข้อมูล แต่จากภาพด้านล่างจะเห็นว่ามุมมองที่เป็น 3 มิตินั้นทำให้การมองเห็นบิดเบี้ยว ซึ่งทำให้ข้อมูลที่สื่อสารออกไปผิดพลาด เพราะฉะนั้นการใช้ Pie Chart แบบ 2 มิติสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ดีกว่า และยังป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่าอีกด้วย

  • ใช้รูปแบบ 2 มิติ นั้นสื่อสารได้ง่ายและดีกว่า 3 มิติ

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่ามุมมองที่เป็น 3 มิตินั้นทำให้การมองเห็นบิดเบี้ยว ซึ่งทำให้ข้อมูลที่สื่อสารออกไปผิดพลาด เพราะฉะนั้นการใช้ Pie Chart แบบ 2 มิติสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ดีกว่า และยังป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ดีกว่าอีกด้วย

  • ไม่ควรใช้กับข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินไป แนะนำว่าไม่ควรเกิน 2-5 Category

จุดประสงค์ของการใช้ Pie Chart เปรียบเทียบ คือ เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลได้ชัดเจนมากที่สุด แต่หากมีข้อมูลมากเกินไป การใช้ Pie Chart ก็ไม่สามารถตอบโจทย์ในการเปรียบเทียบได้

  • ควรแสดงป้ายข้อมูลให้ชัดเจน

หากไม่มีป้ายข้อมูลกำกับ ก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่า Pie Chart มีสัดส่วนแต่ละสีเป็นอย่างไรบ้างและมีค่าต่างกันมากน้อยแค่ไหน

กราฟแท่ง (Horizontal Bar/ Vertical Bar Chart) หรือ กราฟเส้น (Line Chart)

กราฟประเภทนี้มักจะถูกใช้อยู่เป็นประจำเช่นกัน โดยถือว่าเป็นกราฟพื้นฐานที่ใช้สำหรับเปรียบเทียบข้อมูลได้เป็นอย่างดี แต่ก็มักมีการใช้ผิดกันอยู่บ้างนั้นก็คือ

  • แกน Y ควรเริ่มต้นที่ศูนย์เสมอ

ทุกๆครั้งของการทำกราฟไม่ว่าจะเป็นกราฟแท่งหรือกราฟเส้น ข้อควรระวังคือแกน Y ควรเริ่มต้นที่ 0 เสมอเพราะถ้าไม่ได้เริ่มต้นที่ 0 อาจจะทำให้ภาพที่เห็นมีค่าน้อยกว่าหรือมากกว่าความเป็นจริง

  • ช่วงของข้อมูลควรมีระยะห่างเท่ากัน

หากระยะห่างไม่เท่ากัน จะทำให้ข้อมูลที่ได้ไม่ถูกต้องและทำให้เกิดความเข้าใจผิดเป็นอย่างมาก

  • ปรับเปลี่ยนการใช้ Horizontal Bar Chart และ Vertical Bar Chart ให้เหมาะสม

จากกราฟสีแดงทุกคนจะเห็นว่าชื่อของข้อมูลยาวมากๆ อีกทั้งคำยังถูกตัดทำให้อ่านยาก ในกรณีนี้แนะนำให้ลองเปลี่ยนไปใช้ Vertical ฺBar Chart แทนเนื่องจากสามารถแสดงชื่อของข้อมูลได้ชัดเจนมากกว่า Horizontal Bar Chart

จากตัวอย่างที่ได้ยกมานั้นเชื่อว่าทุกคนคงจะเห็นแล้วว่าการทำ Data Visualization นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ต้องระมัดระวังในการเลือกนำเสนอข้อมูลให้ถูกต้องเท่านั้นเอง เพราะถ้าหากว่าเรานำเสนอข้อมูลที่ผิดหรือบิดเบือนจากความเป็นจริงไปก็อาจจะส่งผลกระทบต่อผู้อื่นให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเกิดความเสียหายได้

References

[1] Storytelling with Data : A Data Visualization Guide for Business Professionals

[2] https://bernardmarr.com/why-you-shouldnt-use-pie-charts-in-your-dashboards-and-performance-reports/#:~:text=From%20a%20design%20point%20of,data%20more%20complicated%20than%20before.

อย่าทำ Data Visualization แบบนี้ถ้าไม่อยากให้ใครเข้าใจผิด
Sakulrat Khunsoongnoen (Noey) 15 August, 2022
Share this post
Archive
Sign in to leave a comment