หนึ่งในหัวใจสำคัญของการเริ่มทำ Digital Transformation
องค์กรต้องมีการนำข้อมูลที่มีภายในองค์กร
นำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ดังนั้น เรื่องกระบวนการในการได้มาซึ่งข้อมูลที่ต้องการนั้นจึงเป็นส่วนสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อข้อมูลนั้นมีความครบถ้วนและมีคุณภาพแล้วการนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ต่อจะทำให้เกิดความแม่นยำและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่ไม่ได้มีการนำข้อมูลมาใช้งานเป็นอย่างมาก
เราจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนตนเองตลอดเวลา ปรับเปลี่ยนกระบวนการการเก็บข้อมูลให้เป็นระบบเพื่อให้สามารถนำข้อมูลที่มีมาใช้งานต่อได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด รวมไปถึงการนำระบบ Enterprise Resource Planning หรือระบบ ERP มาปรับใช้ ซึ่งถือว่าเป็นระบบหัวใจสำคัญของทุกธุรกิจที่จำเป็นต้องมี นอกจากนี้ระบบ ERP ถือเป็นคลังข้อมูลของธุรกิจที่จะทำการเก็บข้อมูลธุรกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
Digital Transformation is a must, not a trend.
ช่วงต้นปี 2020 ทาง Gartner ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำวิจัยชั้นนำของโลกได้มีการจัดพิมพ์รายงาน 2020 Gartner CIO Survey ซึ่งเป็นผลสำรวจผู้บริหาร CIO ขององค์กรชั้นนำของโลก โดยมีรายงานชุดที่กล่าวถึงกลุ่มองค์กรใน Asia Pacific หรือ APAC จำนวน 198 องคฺ์กร โดยจุดประสงค์หลักของการสำรวจครั้งนี้ คือการรวบรวมข้อมูลจากผู้นำในแต่องค์กรในเรื่องของผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมไปถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน มีการสำรวจว่าองค์กรเหล่านี้ผ่านวิกฤติต่างๆ มาได้อย่างไร และปัจจุบันองค์กรให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร
จากผลสำรวจกลุ่มบริษัทในภูมิภาค APAC พบว่าส่วนใหญ่กว่า 88% ประสบปัญหาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดย 3 ประเด็นหลัก พบว่ากว่า 46% ประสบปัญหาในเชิงโครงสร้างองค์กร (Organization Disruption) ที่เริ่มไม่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหรือไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ถัดมาคือเรื่องของความกดดันทางด้านต้นทุนในการดำเนินการ (Serve Operating Cost Pressure) สืบเนื่องจาก Technology ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเปิดโอกาสให้มีผู้เล่นหลายใหม่เข้ามามากขึ้นประกอบกับต้นทุนของบริษัทเหล่านั้นน้อยกว่า ทำให้สร้างความกดดันกลับไปที่องค์กรที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันต้องบริหารจัดการต้นทุนของต้นเองเพื่อไม่ให้บริษัทใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นสามารถเข้ามากินส่วนแบ่งในการตลาดได้ ส่วนอันดับที่ 3 คือเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้บริโภค (Shifting Consumer Demand) โดยมีปัจจัยหลักมาจาก Digital Technology ที่เปลี่ยนไป ซึ่งการเข้ามาของ Technology ใหม่ๆ นั้น สามารถเข้ามาแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากกว่า สร้างความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานมากกว่า และที่สำคัญ คือมีต้นทุนที่ถูกกว่าด้วย
Transformations are hard, and digital ones are harder
บริษัทที่ให้คำปรึกษากับองค์กรขนาดใหญ่อีกองค์หนึ่งคือ McKinsey&Company มี Research ที่ทางบริษัทได้ทำเกี่ยวกับเรื่องของ Digital Transformation โดยเฉพาะ ซึ่งจากจำนวนองค์กรทั้งหมดที่ McKinsey&Company ได้ไปสำรวจ พบว่ามีองค์กรน้อยกว่า 30% เท่านั้นที่ประสบความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ซึ่งทาง Mckinsey&Company ได้สรุปหัวใจสำคัญของความสำเร็จในการทำ Digital Transformation ที่น่าสนใจจากผลสำรวจนี้
ถึงแม้ว่าหัวข้อของการทำเรื่อง Digital Transformations จะพูดถึงเรื่องของการนำ Digital Technology มาเป็นตัวนำองค์กร แต่ผลสำรวจนี้บ่งชี้ชัดเจนว่า หัวใจสำคัญกลับไม่ได้อยู่ที่เรื่องของการใช้ Technology แต่ 4 ใน 5 เรื่องกลับเป็นเรื่องของการสร้าง Direction, ความมีส่วนร่วมกันในองค์กรและ Partner เสียมากกว่า ดังนั้นแล้วจะเห็นว่าถึงแม้บางองค์กรจะมีการนำ Digital มาใช้งานแล้วก็จริง แต่ก็ไม่สามารถผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้จริง ดังนั้น นอกจาก Technology แล้ว เรายังต้องอาศัยความร่วมมือกันภายในองค์กรในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้วย
Digital transformation starts from inside
โดยปกติแล้วในหลาองค์กรต้องมีการพัฒนาตัวธุรกิจอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงการทำ Digital Transformation ก็ไม่ได้ต่างจากการที่องค์กรต้องทำในเรื่องของการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมองจากภาพใหญ่แล้วจะมีด้วยกัน 3 เรื่องคือ เรื่องของกระบวนการทำงาน (Process) ทำอย่างไรถึงจะสามารถสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงานที่มีอยู่ให้ดีขึ้นได้ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง, เรื่องของบุคคลกร (People) ทำอย่างไรให้บุคคากรมีความรู้ความสามารถมากขึ้น และเรื่องของ Technology ในการจะมาช่วยการทำงานของคนง่ายขึ้น
ซึ่ง 3 องค์ประกอบนี้ มีความสำคัญและเกี่ยวเนื่องกันอยู่ People จะเป็นส่วนที่ดำเนินงานตามกม Process ที่วางไว้ หาก Process ดีคนก็ทำงานง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และ People ยังทำให้เกิดการพัฒนา Technology ให้ดีขึ้นอีกด้วย โดยในส่วนของ Technology จะเป็นส่วนที่ช่วย Process การทำงานสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพียงแต่ว่าสิ่งที่ทำให้แตกต่างระหว่าง คือเรื่องของสิ่งที่องค์กรต้องคาดหวังที่จะได้รับ
ส่วนที่ Digital Transformation จะจากแตกต่างจากการพัฒนาองค์กร คือการที่แต่ละส่วนนั้น มีการ Generate Data ของตัวมันเอง ดังนั้น สิ่งองค์กรคาดหวัง คือการเก็บรวบรวม Data ให้ได้มากขึ้นในทุกกระบวนการเพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาหาข้อมูลเชิงลึก (Insight) ต่อไป โดยการเก็บข้อมูลลักษณะนี้ จำเป็นต้องมีการนำเอา Technology เข้ามาช่วยในกระบวนการทำงานด้วย ดังนั้น หัวใจอย่างหนึ่งของการทำ Digital Transformation ในองค์กร คืองการตระหนักในเรื่องของการนำ Data ไปใช้งานในองค์กรให้มีประโยชน์สูงสุด เราเรียกองค์กรเหล่านี้ว่าเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล หรือ Data Driven Organization นั่นเอง