4 must-know tips to
achieve successful
Project Management
หลายคนอาจจะเคยประสบปัญหากับงานในโครงการที่ตนดูแลอยู่ล่าช้า ไม่เป็นไปตามแพลนที่วางไว้ มีงานเพิ่มเข้ามาโดยที่ไม่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่แรก ปัญหาเหล่านี้มักมาจากการที่ไม่ได้วางแผนโครงการไว้ก่อนเริ่มงาน
วันนี้ Roots จะมาแชร์เทคนนิคการบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จ จะต้องมี 4 ส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1. คำอธิบายที่เกี่ยวกับโครงการ (Statement of Work – SOW หรือ Scope Statement)
2. รายละเอียดและข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงการ (Project Specification)
3. กำหนดการของเป้าหมาย (Milestone Schedule)
4. แผนงานอย่างละเอียด (Work Breakdown Structure)
เรามาเรียนรู้กันว่าในแต่ละส่วนประกอบมีอะไรบ้าง
1. คำอธิบายที่เกี่ยวกับโครงการ
(Statement of Work - SOW หรือ Scope Statement)
คำอธิบายที่มีการอธิบายแบบละเอียดของโครงการรวมถึงงานต่างๆ ที่ต้องทำในโครงการ มักจะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ของโครงการ, คำอธิบายโดยย่อของงานที่สำคัญ, รายการของผลผลิต (List of deliverables), ข้อจำกัดเกี่ยวกับงบประมาณ (ถ้ามี) และหมายกำหนดการโดยรวม (Overall schedule)
ระหว่างการจัดทำคำอธิบายที่เกี่ยวกับโครงการ ผู้จัดการโครงการควรตรวจสอบในความครบถ้วนของเนื้อหา โดยการทบทวนหลายครั้งกับผู้เชี่ยวชาญ (Functional specialists) ที่เกี่ยวข้อง เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลทางเทคนิคและบริหารนั้นเพียงพอที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ หลังจากได้รับความคิดเห็นรอบด้านแล้ว ผู้จัดการโครงการควรดำเนินการจัดการประชุมตรวจสอบครั้งสุดท้ายกับผู้จัดการระดับสูง (Senior management) ก่อนจะนำคำอธิบายที่เกี่ยวกับโครงการไปใช้ต่อในการวางแผนโครงการ
2. รายละเอียดและข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงการ
(Project Specification)
การกำหนดมาตรฐานและรายละเอียดของวัตถุดิบและผลผลิตที่ได้จากโครงการ ข้อมูลส่วนนี้ใช้สำหรับการประเมินค่าใช้จ่ายและแรงงานที่ต้องใช้ การแก้ไขมาตรฐานเพียงเล็กน้อยอาจจะเป็นผลกระทบใหญ่ต่อค่าใช้จ่าย ยกตัวอย่างเช่น ถ้าลูกค้าขอเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขึ้น 1-2% อาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นมา เป็นต้น อีกเหตุผลที่ควรระบุรายละเอียดและข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงการก็เพื่อเป็นการป้องกันว่าจะไม่มีเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับลูกค้าเมื่อได้รับส่งมอบงาน
3. กำหนดการของเป้าหมาย (Milestone Schedule)
กำหนดการของเป้าหมาย ประกอบไปด้วย
วันเริ่มต้นโครงการ (Project start date)
วันสิ้นสุดโครงการ (Project end date)
กำหนดการของเป้าหมายสำคัญ (Major milestones)
ผลผลิตหรือรายงาน (Deliverables or reports)
วันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดโครงการ (กรณีที่มีการกำหนดไว้แล้ว) จำเป็นต้องถูกรวมเข้าไปในการวางแผนโครงการ กำหนดการของเป้าหมายที่มีความสำคัญ เช่น การประชุมเพื่อตรวจสอบวัตถุประสงค์ของโครงการ, วันที่ระบบตัวอย่างพร้อมส่งมอบ, วันเริ่มทดสอบระบบจริง และ/หรือเรื่องอื่นๆ ก็ควรนำมาระบุลงในแผนโครงการด้วยเช่นกัน
4. แผนงานอย่างละเอียด (Work Breakdown Structure - WBS)
เปรียบเสมือนตัวแทนซึ่งถูกจัดเรียงเป็นลำดับขั้นของงานที่ต้องทำในโครงการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ทำหน้าที่เสมือนเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการแตกงานใหญ่ออกเป็นส่วนเล็กๆ เพื่อที่ง่ายต่อการบริหารจัดการเพราะอำนาจและผู้รับผิดชอบจะถูกกำหนดให้กับงานชิ้นเล็กลง
ลดความเกี่ยวข้องและขึ้นต่อกันระหว่างงานใหญ่ลง
สามารถกำหนดค่าใช้จ่ายและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถระบุความเชื่อมโยงระหว่างงานย่อยสู่งานใหญ่ และวางแผนเพื่อการควบคุมโครงงานได้
ง่ายต่อการวัดผลและติดตามความก้าวหน้าของงานในเชิงระยะเวลาและค่าใช้จ่ายที่ใช้ และประสิทธิภาพของงาน
การออกแบบและเขียนแผนงานอย่างละเอียดต้องทำด้วยความรอบคอบ แผนงานอย่างละเอียดที่ดีนั้นสามารถนำไปใช้ในการจัดเตรียมสิ่งต่างๆ ได้
ตารางความรับผิดชอบ (The responsibility matrix)
โครงข่ายของหมายกำหนดการ (Network scheduling)
ค่าใช้จ่าย (Costing)
การวิเคราะห์ความเสี่ยง (Risk analysis)
โครงสร้างขององค์กรหรือบุคคลากร (Organizational structures)
แผนการควบคุม (Control)
เพียง 4 ข้อเท่านี้ก็สามารถช่วยให้การบริหารโครงการของคุณมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นแล้ว สนใจพัฒนาระบบกับ Roots เราทำงานตามขั้นตอน มีแบบแผน และมีกระบวนการทำงานที่ได้รับมาตรฐานสากล ติดต่อเราได้เลย Contact us
Start writing here...